แผนงาน/โครงการของรัฐ
1. ชื่อโครงการ
ชื่อภาษาไทย | อาคารประกอบ คลองระบายน้ำคลองโคกทอง-หัวคลอง |
โครงการบริหารจัดการน้ำคาบสมุทรสทิงพระ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
2. เหตุผลความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 เหตุผลความจำเป็น
เนื่องด้วย พื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสทิงพระ และอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ประสบปัญหาอุทกภัยมาโดยตลอด มีพื้นที่ลุ่มต่ำถูกน้ำท่วมขังเป็นประจำ เกิดความเสียหายต่อพื้นที่เกษตรกรรม และในเหตุการณ์อุทกภัยขนาดใหญ่ เช่น เหตุการณ์อุทกภัยช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2548 ถึงเดือนมกราคม 2549 เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ทำให้คาบสมุทรสทิงพระมีพื้นที่น้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง ราษฎรจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จากภาวะน้ำท่วมขังในระดับสูงและเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ นอกจากนี้ พื้นที่คาบสมุทรสทิงพระยังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรเป็นประจำอีกด้วย สาเหตุหลัก คือ ไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำในพื้นที่ น้ำต้นทุนไม่เพียงพอเนื่องจากไม่สามารถใช้น้ำจากทะเลสาบสงขลา เมื่อมีการรุกตัวของน้ำเค็มถึงทะเลสาบตอนบน และระบบกระจายน้ำที่ไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด จำเป็นต้องศึกษาการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบตลอดทั้งพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดแนวทางในการลดความเสียหายในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้มาตรการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องและสนับสนุนกัน จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาความเหมาะสมการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร รวมทั้งการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด - กระแสสินธุ์ ซึ่งรับผิดชอบการส่งน้ำชลประทานและการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากโครงการได้มีการใช้งานมาเป็นเวลานาน
ปัจจุบัน สำนักบริหารโครงการ ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Report) โครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา เสร็จเรียบร้อยแล้ว
2.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ
2.2.1 เพื่อช่วยป้องกันและบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัย
2.2.2 เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับการอุปโภค- บริโภค และทำการเกษตรของราษฎร
2.2.3 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำ
2.2.3 เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำให้ราษฎรได้บริโภค
2.2.4 ช่วยให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3. สาระสำคัญของโครงการ
องค์ประกอบของการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร คาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย
3.1 การแก้ไขปัญหาอุทกภัย ได้แก่
3.1.1 การก่อสร้างคันป้องกันน้ำท่วมและอาคารประกอบ
3.1.2 การปรับปรุงประสิทธิภาพคลองระบายน้ำในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ
3.1.3 การผันน้ำจากทะเลสาบสงขลาออกสู่อ่าวไทย
3.1.4 การก่อสร้าง ทรบ.กั้นน้ำจากทะเลสาบสงขลา
3.1.5 การติดตั้งระบบโทรมาตรเพื่อการบริหารจัดการน้ำ
3.1.6 การจัดหาเครื่องจักรอุปกรณ์ เพื่อการบำรุงรักษาคลองและอาคารชลศาสตร์
3.2 การแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ได้แก่
3.2.1 การปรับปรุงคลองพลเอกอาทิตย์ฯ
3.2.2 การก่อสร้างระบบกระจายน้ำริมคลองพลเอกอาทิตย์ฯ
3.2.3 การก่อสร้างระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าริมคลองพลเอกอาทิตย์ฯ
3.2.4 การก่อสร้าง ทรบ.ปลายคลอง
3.2.5 การก่อสร้างอาคารกั้นน้ำเค็มเข้าคลอง
3.2.6 การปรับปรุงคลองส่งน้ำและอาคารควบคุมน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำ
4. ผู้ดำเนินการ (หน่วยงานดำเนินการ)
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง
5. สถานที่ที่จะดำเนินการ
● เฉพาะจังหวัด ○ ทั่วประเทศ
พื้นที่ดำเนินงาน | ||
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล |
สงขลา | ระโนด | ท่าบอน |
6. ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ
โครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปี
.
7. ผลผลิตของโครงการ (OUTPUT)
7.1 การแก้ไขปัญหาอุทกภัย ได้แก่
7.1.1 การก่อสร้างคันป้องกันน้ำท่วมและอาคารประกอบ
7.1.2 การปรับปรุงประสิทธิภาพคลองระบายน้ำในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ
7.1.3 การผันน้ำจากทะเลสาบสงขลาออกสู่อ่าวไทย
7.1.4 การก่อสร้าง ทรบ.กั้นน้ำจากทะเลสาบสงขลา
7.1.5 การติดตั้งระบบโทรมาตรเพื่อการบริหารจัดการน้ำ
7.1.6 การจัดหาเครื่องจักรอุปกรณ์ เพื่อการบำรุงรักษาคลองและอาคารชลศาสตร์
7.2 การแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ได้แก่
7.2.1 การปรับปรุงคลองพลเอกอาทิตย์ฯ
7.2.2 การก่อสร้างระบบกระจายน้ำริมคลองพลเอกอาทิตย์ฯ
7.2.3 การก่อสร้างระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าริมคลองพลเอกอาทิตย์ฯ
7.2.4 การก่อสร้าง ทรบ.ปลายคลอง
7.2.5 การก่อสร้างอาคารกั้นน้ำเค็มเข้าคลองสทิงหม้อ
7.2.6 การปรับปรุงคลองส่งน้ำและอาคารควบคุมน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำ
8. ผลลัพธ์ของโครงการ (OUTCOME)
- ด้านบวก
8.1 ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ
พื้นที่รับประโยชน์จากการบรรเทาอุทกภัย ได้แก่ พื้นที่น้ำท่วมที่ลดลงในเขตพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระในพื้นที่ทั้ง 4 อำเภอ โดยผลประโยชน์ที่ได้รับ ได้แก่
- มูลค่าความเสียหายจากอุทกภัยที่ลดลง ทั้งในพื้นที่เกษตรกรรม บ้านเรือน ทรัพย์สิน ตลอดจนลดค่าใช้จ่ายภาครัฐในการบรรเทาภัยพิบัติ การชดเชยความเสียหาย และซ่อมแซมสาธารณูปโภคที่เสียหายจากน้ำท่วม ซึ่งหากเปรียบเทียบกับกรณีไม่มีโครงการ การบรรเทาอุทกภัยที่คาบการเกิด 50 ปี ทำให้พื้นที่น้ำท่วมลดลงประมาณ 51.21 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ประมาณ 21,530 ไร่ ครัวเรือนอยู่อาศัย ประมาณ 1,485 ครัวเรือน ประเมินผลประโยชน์จากการบรรเทาอุทกภัยเป็นเงินประมาณ 181.85 ล้านบาท และเมื่อประเมินผลประโยชน์จากการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระที่คาบการเกิด 2 - 100 ปีจะได้ผลประโยชน์เฉลี่ย 29.56 ล้านบาท/ปี
- ยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎร ลดความเดือดร้อน ความวิตกกังวล และความไม่สะดวกด้านต่างๆ ในช่วงน้ำท่วม
- สร้างความมั่นใจให้กับราษฎร ในการประกอบอาชีพ เช่น การวางแผนการเพาะปลูก การลงทุนเพื่อการเกษตรกรรม และการพัฒนาธุรกิจด้านต่างๆ
- รัฐสามารถนำเงินงบประมาณที่จะต้องนำมาบรรเทาภัยพิบัติน้ำท่วมในแต่ละปี ไปใช้ในการพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ
8.2 ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร
พื้นที่รับประโยชน์ ได้แก่ พื้นที่คาบสมุทรสทิงพระในพื้นที่ทั้ง 4 อำเภอ โดยผลประโยชน์ที่ได้รับ ได้แก่
- สามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อใช้สำหรับการเพาะปลูกในฤดูแล้ง ประมาณ 12,000 ไร่
- เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ทำให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
8.3 ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด - กระแสสินธุ์
- ทำให้ระบบส่งน้ำชลประทานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- สามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกในฤดูแล้งประมาณ 8,700 ไร่
- ราษฎรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
- เพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระทั้งในฤดูแล้งและฤดูน้ำหลาก
9. ผลกระทบและมาตรการป้องกัน (IMPACT)
- ด้านบวก
- ลดผลกระทบเนื่องจากอุทกภัย ในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ
- จากการมีน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ ซึ่งจะส่งผลให้เรื่องผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น และจะทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น ทำให้สภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ชุมชนเกิดความสงบสุข
- ด้านลบ
- ในการก่อสร้างจำเป็นต้องใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างอาคารหัวงาน ทำให้มีต้นไม้ที่ราษฎรปลูกบางส่วน ได้รับความเสียหาย ซึ่งราษฎรยินยอมให้ก่อสร้าง
10. งบประมาณการค่าใช้จ่าย
กิจกรรมย่อย : อาคารประกอบ คลองระบายน้ำคลองโคกทอง-หัวคลอง
โครงการบริหารจัดการน้ำคาบสมุทรสทิงพระ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
- จำนวนเงิน | 20,000,000 | บาท | ||||||||||||||||||||||
ผูกพัน | ปี | ต่อเนื่อง | ปี | ปีเดียว | ||||||||||||||||||||
- ที่มาของเงิน | งบประมาณปกติ | งบประมาณจังหวัด | ||||||||||||||||||||||
งบประมาณเงินกู้ | อื่น ๆ ระบุ | |||||||||||||||||||||||
ปีดำเนินการ | จ้างเหมา (บาท) | ค่าควบคุมงาน (บาท) | ดำเนินการเอง (บาท) | หมายเหตุ | ||||||||||||||||||||
ปี 2567 | - | - | 20,000,000 | |||||||||||||||||||||
รวม | 20,000,000 | |||||||||||||||||||||||
11. แผนที่โครงการ :
พิกัด | 47NPJ463604 | พิกัด UTM (E) | 646300 | |
ระวาง | 5024I | พิกัด UTM (N) | 860430 | |
ชื่อลุ่มน้ำ | ทะเลสาบสงขลา | รหัสลุ่มน้ำ | 23 | |
ประเภทโครงการ | อาคารประกอบ | ขนาดโครงการ | กลาง |