โครงการประตูระบายน้ำบ้านย่านตาขาว

แผนงาน/โครงการของรัฐ

1. ชื่อโครงการ    

ชื่อภาษาไทยโครงการประตูระบายน้ำบ้านย่านตาขาว
ชื่อภาษาอังกฤษ  

2. เหตุผลความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1  เหตุผลความจำเป็น

ด้วยนายภูวนัฐ สมใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้มีหนังสือที่ 00172/2665 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2564 ถึงผู้อำนวยการโครงการชลประทานตรัง เรื่องขอรับการสนับสนุนโครงการก่อสร้างฝายน้ำล้นคลองลำพิกุล ด้วยการประปาส่วนภูมิภาคสาขาย่านตาขาว มีพื้นที่ให้บริการน้ำประปา 2 อำเภอ คืออำเภอย่านตาขาวและอำเภอปะเหลียน จำนวนผู้ใช้น้ำ 7,300 ราย กำลังผลิต 200 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ผลิตน้ำวันละ 5,600 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งใช้น้ำดิบจากคลองลำพิกุล และในช่วงฤดูแล้งของทุกปีระดับน้ำในคลองลำพิกุลจะลดลงอย่างรวดเร็ว การประปาส่วนภูมิภาคสาขาย่านตาขาวแก้ไขปัญหาภัยแล้งเฉพาะหน้าโดยการใช้กระสอบทรายสร้างฝายกันน้ำชั่วคราว  เพื่อยกระดับน้ำในคลองลำพิกุลให้สามารถทำการสูบน้ำดิบได้ และในการประชุมคณะทำงานบริหารจัดการน้ำด้านอุปโภค-บริโภค ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 มีมติให้โครงการชลประทานตรัง ดำเนินการศึกษาออกแบบการก่อสร้างฝายน้ำล้นคลองลำพิกุลเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำดิบที่จะนำมาทำน้ำประปาตามที่การประปาส่วนภูมิภาคสาขาย่านตาขาวขอรับการสนับสนุน และเพื่อให้การขับเคลื่อนแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค เป็นไปตามมติที่ประชุมดังกล่าว จังหวัดขอให้โครงการชลประทานตรังดำเนินการศึกษาออกแบบก่อสร้างฝายน้ำล้นคลองลำพิกุลและบรรจุเข้าแผนเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ได้เข้าดำเนินการตรวจสอบสภาพภูมิประเทศและสอบถามข้อมูลเบื้องต้นจากราษฎรในเขตโครงการแล้วเห็นว่ามีแนวทาง
ที่จะให้ความช่วยเหลือได้ โดยก่อสร้างโครงการประตูระบายน้ำบ้านย่านตาขาว และส่วนวางโครงการที่ 4 สำนักบริหารโครงการ ได้พิจารณาศึกษาโครงการและจัดทำรายงานการศึกษาวางโครงการพิเศษ โครงการประตูระบายน้ำบ้านย่านตาขาว ตำบล
ย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว  จังหวัดตรัง

2.2    วัตถุประสงค์ของโครงการ

-        เพื่อป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย ในพื้นที่รับประโยชน์ของโครงการ จำนวน 4,100 ไร่ และสนับสนุนแหล่งน้ำด้านการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร ให้กับราษฎรในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านย่านตาขาว ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว และอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง มีพื้นที่การเกษตร 2,730 ไร่ มีผู้ใช้น้ำ 7,300 คน ให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี

-        เพื่อป้องกันการลุกล้ำของน้ำเค็มจากทะเลเข้ามาในพื้นที่โครงการในช่วงฤดูแล้ง

3. สาระสำคัญของโครงการ 

โครงการประตูระบายน้ำบ้านย่านตาขาว มีวัตถุประสงค์ป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย 
ในพื้นที่รับประโยชน์ของโครงการ จำนวน 4,100 ไร่ และสนับสนุนแหล่งน้ำด้านการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร ให้กับราษฎรในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านย่านตาขาว ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาวและอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี

4. ผู้ดำเนินการ     

สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16  กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง

 

5. สถานที่ที่จะดำเนินการ 

                  ●   เฉพาะจังหวัด                                          ○   ทั่วประเทศ

พื้นที่ดำเนินการ

จังหวัดอำเภอตำบล
ตรังย่านตาขาวย่านตาขาว

6. ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ 

โครงการประตูระบายน้ำบ้านย่านตาขาว ใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 2 ปี (พ.ศ. 2567-2568) ประกอบด้วย

1.  ประตูระบายน้ำ ขนาด 6.00 x 6.00 เมตร จำนวน 5 ช่อง 1 แห่ง อัตราการระบายน้ำสูงสุด 440 ลบ.ม./วินาที

2.  เสริมคันคลองป้องกันตลิ่งคลองปะเหลียนความยาวประมาณ 90 เมตร

7. ผลผลิตของโครงการ  (OUTPUT)

1. ประตูระบายน้ำ ขนาด 6.00 x 6.00 เมตร จำนวน 5 ช่อง 1 แห่ง อัตราการระบายน้ำสูงสุด 440 ลบ.ม./วินาที

2.  เสริมคันคลองป้องกันตลิ่งคลองปะเหลียนความยาวประมาณ 90 เมตร

8. ผลลัพธ์ของโครงการ  (OUTCOME) 

            ด้านบวก

- ป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย ในพื้นที่รับประโยชน์ของโครงการ จำนวน 4,100 ไร่

- สนับสนุนแหล่งน้ำด้านการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร ให้กับราษฎร ในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านย่านตาขาว ตำบล
ย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาวและอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง มีพื้นที่การเกษตร 2,730 ไร่ มีผู้ใช้น้ำ 7,300 คน ให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี

- เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำ สามารถกระจายน้ำให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่โครงการ

- ป้องกันการลุกล้ำของน้ำเค็มจากทะเลเข้ามาในพื้นที่โครงการในช่วงฤดูแล้ง

9. ผลกระทบและมาตรการป้องกัน  (IMPACT)

            ด้านบวก

- สามารถป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย ในพื้นที่รับประโยชน์ของโครงการ

- เมื่อมีน้ำเพื่อทำการเกษตรและการประปาเพื่อการอุปโภค – บริโภคอย่างพอเพียง จะส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น 
และทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

            ด้านลบ

-

10. การประเมินผลทางด้านเศรษฐศาสตร์

         ระดับอัตราคิดลด                                             เท่ากับ  9.00 %

          มูลค่าผลตอบแทนสุทธิปัจจุบัน (NPV)              เท่ากับ  4.27 ล้านบาท

อัตราส่วนของผลตอบแทนต่อการลงทุน (B/C ratio)    เท่ากับ  1.02

อัตราผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ (EIRR)              เท่ากับ  9.11 %

11. การขออนุญาตใช้พื้นที่

- พื้นที่โครงการอยู่ในลำคลองสาธารณะ (คลองปะเหลียน) ซึ่งต้องขออนุญาตสิ่งล่วงล้ำลำน้ำต่อกรมเจ้าท่า

- พื้นที่โครงการอยู่ในเขตป่าตามมาตร 4(1) พรบ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งต้องขออนุญาตต่อกรมป่าไม้

12. งบประมาณการค่าใช้จ่าย 

         ผลผลิต                 การป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ                                                      

         กิจกรรม                บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ               กิจกรรมย่อย   โครงการขนาดกลาง

- จำนวนเงิน140,000,000.-บาท  
  ผูกพัน ปี
  •  
ต่อเนื่อง2ปี ปีเดียว 
- ที่มาของเงิน
  •  
งบประมาณปกติ    งบประมาณจังหวัด  
 
  •  
งบประมาณเงินกู้ อื่น ๆ ระบุ   
ปีดำเนินการจ้างเหมา (บาท)ค่าควบคุมงาน (บาท)ดำเนินการเอง (บาท)รวมหมายเหตุ 
ปีที่ 1 (2567)--60,000,000.-60,000,000.-  
ปีที่ 2 (2568)--80,000,000.-80,000,000.-  
รวม--

140,000,000.-

 

140,000,000.-

 

  
                       

13. สอบถามข้อมูลได้ที่ (ผู้รับผิดชอบโครงการ)

ชื่อ-สกุลนายสุเมธ  รักษนาเวศ
ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 3 สังกัดสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16
กรมกรมชลประทาน E-mail-
โทรศัพท์074-39019 โทรสาร074-390198

14. แผนที่โครงการ

พิกัด47 NNJ 750-148 พิกัด UTM (E)575117
ระวาง4923  IV พิกัด UTM (N)814843
ชื่อลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก รหัสลุ่มน้ำ22
ประเภทโครงการประตูระบายน้ำ ขนาดโครงการกลาง