แผนงาน/โครงการของรัฐ
1. ชื่อโครงการ
ชื่อภาษาไทย | แก้มลิงคลองภูมี พร้อมอาคารประกอบ ความจุ 3.00 ล้านลบ.ม. โครงการแก้มลิงคลองภูมี ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา |
ชื่อภาษาอังกฤษ |
2. เหตุผลความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 เหตุผลความจำเป็น
ด้วยผู้นำท้องถิ่นของตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ, ตำบลบางเหรียง และตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา พร้อมด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 5 จังหวัดสงขลา มีหนังสือถึง ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 16 เรื่อง ให้พัฒนาแหล่งเก็บน้ำหรือแก้มลิงบริเวณพื้นทีริมคลองภูมี ความว่า พื้นที่อำเภอรัตภูมิเป็นพื้นที่ต้นน้ำและมีมวลน้ำจากคลองสายย่อยไหลรวมลงคลองภูมี และไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลาตลอดทั้งปี โดยจุดที่ลำคลองสายย่อยไหลรวมกันนั้น เป็นพื้นที่บ่อทรายและพื้นที่การเกษตร ที่รกร้างว่างเปล่า มีเนื้อที่ประมาณกว่า 300 ไร่ อยู่ในพื้นที่ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ, ตำบลบางเหรียง และตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ซึ่งบริเวณพื้นที่ตำบลดังกล่าวเป็นจุดรับน้ำ เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งเก็บน้ำหรือแก้มลิง เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค แก้ปัญหาอุทกภัยตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยว จึงขอให้กรมชลประทานได้พิจารณาศึกษาผลกระทบ ความเหมาะสมของโครงการเพื่อนำเข้าแผนงานพัฒนาแหล่งน้ำให้สอดคล้องกับแผนการจัดการน้ำแห่งชาติต่อไปนั้น
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง ร่วมกับโครงการชลประทานสงขลา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบพื้นที่และประสานข้อมูลเบื้องต้นกับราษฎรและผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ พิจารณาแล้วเห็นว่าสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น มีแนวทางที่จะให้ความช่วยเหลือได้ โดยก่อสร้างโครงการแก้มลิงคลองภูมี เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเก็บน้ำตามความประสงค์ของผู้นำท้องถิ่นต่อไป
2.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ
โครงการแก้มลิงคลองภูมี ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน
และบรรเทาปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และเป็นแหล่งกักเก็บน้ำสำหรับการเกษตรของราษฎรทั้ง
3 ตำบลคือ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ, ตำบลบางเหรียง และตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา โดยสามารถช่วยเหลือราษฎรและพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ดังกล่าว
3. สาระสำคัญของโครงการ
- ขุดลอกแก้มลิงพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ความลึกเฉลี่ย 4 เมตร พร้อมเสริมคันดินถมบดอัดแน่น สูงจากระดับเก็บกัก 2.00 เมตร ความจุ 3.00 ล้าน ลบ.ม.
- ก่อสร้างอาคารรับน้ำ ขนาด 2-£ 2.50x2.50 เมตร จำนวน 3 แห่ง
- ก่อสร้างอาคารระบายน้ำ ขนาด 3-£ 2.50x2.50 เมตร จำนวน 3 แห่ง
- ก่อสร้างสถานีสูบน้ำพร้อมอาคารควบคุม จำนวน 3 แห่ง พร้อมระบบท่อส่งน้ำจำนวน 3 สาย
4. ผู้ดำเนินการ
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง
5. สถานที่ที่จะดำเนินการ
● เฉพาะจังหวัด ○ ทั่วประเทศ
พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล |
สงขลา | ควนเนียง | รัตภูมิ |
6. ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ
โครงการแก้มลิงคลองภูมี ใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 5 ปี (พ.ศ. 2567-2571) ประกอบด้วย
- ขุดลอกแก้มลิงพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ความลึกเฉลี่ย 4 เมตร พร้อมเสริมคันดินถมบดอัดแน่น สูงจากระดับเก็บกัก 2.00 เมตร ความจุ 3.00 ล้าน ลบ.ม.
- ก่อสร้างอาคารรับน้ำ ขนาด 2-£ 2.50x2.50 เมตร จำนวน 3 แห่ง
- ก่อสร้างอาคารระบายน้ำ ขนาด 3-£ 2.50x2.50 เมตร จำนวน 3 แห่ง
- ก่อสร้างสถานีสูบน้ำพร้อมอาคารควบคุม จำนวน 3 แห่ง พร้อมระบบท่อส่งน้ำจำนวน 3 สาย
7. ผลผลิตของโครงการ (OUTPUT)
แก้มลิงคลองภูมี เนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ สามารถเก็บกักน้ำประมาณ 3.00 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมถนนรอบสระเก็บน้ำ อาคารรับน้ำและอาคารระบายน้ำ พร้อมอาคารประกอบ
8. ผลลัพธ์ของโครงการ (OUTCOME)
- สามารถลดพื้นที่น้ำท่วมให้แก่ตำบลควนเมาและตำบลข้างเคียง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
- สามารถมีพื้นที่เก็บน้ำเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เป็นสระเก็บน้ำความจุประมาณ 3.00 ล้านลูกบาศก์เมตร
- มีน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตรและการอุปโภค – บริโภค ให้แก่ราษฎร ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ, ตำบลบางเหรียง และตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
9. ผลกระทบและมาตรการป้องกัน (IMPACT)
ด้านบวก
- ลดปัญหาพื้นที่น้ำท่วมให้แก่ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ, ตำบลบางเหรียง และตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ราษฎรบริเวณดังกล่าว
- เมื่อมีน้ำเพื่อทำการเกษตรและการอุปโภค – บริโภคอย่างพอเพียง จะส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น และทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
ด้านลบ
- บริเวณพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างอยู่ในพื้นที่ป่า และพื้นที่ถือครองของราษฎร จะต้องมีการจ่ายค่าทดแทนที่ดินและผลอาสินของราษฎรในพื้นที่
10. การประเมินผลทางด้านเศรษฐศาสตร์
ระดับอัตราคิดลด เท่ากับ %
มูลค่าผลตอบแทนสุทธิปัจจุบัน (NPV) เท่ากับ ล้านบาท
อัตราส่วนของผลตอบแทนต่อการลงทุน (B/C Ratio) เท่ากับ
อัตราผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ (EIRR) เท่ากับ %
11. การขออนุญาตใช้พื้นที่
พื้นที่ที่ใช้ในการก่อสร้างอยู่บริเวณพื้นที่ถือครองของราษฎร จะต้องมีการจ่ายค่าทดแทนที่ดินและผลอาสินของราษฎรในพื้นที่
12. งบประมาณการค่าใช้จ่าย
ผลผลิต โครงการจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน
กิจกรรม บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กิจกรรมย่อย โครงการขนาดกลาง
- จำนวนเงิน | 400,000,000.- | บาท | ||||||||||||||||||||
ผูกพัน | ปี | ต่อเนื่อง | 4 | ปี | ปีเดียว | |||||||||||||||||
- ที่มาของเงิน | งบประมาณปกติ | งบประมาณจังหวัด | ||||||||||||||||||||
งบประมาณเงินกู้ | อื่น ๆ ระบุ | |||||||||||||||||||||
ปีดำเนินการ | จ้างเหมา (บาท) | ค่าควบคุมงาน (บาท) | ดำเนินการเอง (บาท) | รวม | หมายเหตุ | |||||||||||||||||
ปีที่ 1 (2567) | - | - | 50,000,000.- | 50,000,000.- | ||||||||||||||||||
ปีที่ 2 (2568) | - | - | 70,000,000.- | 70,000,000.- | ||||||||||||||||||
ปีที่ 3 (2569) | - | - | 70,000,000.- | 70,000,000.- | ||||||||||||||||||
ปีที่ 4 (2570) | - | - | 110,000,000.- | 110,000,000.- | ||||||||||||||||||
ปีที่ 5 (2571) | - | - | 100,000,000.- | 100,000,000.- | ||||||||||||||||||
รวม | -
| -
| 400,000,000.-
| 400,000,000.-
| ||||||||||||||||||
13. สอบถามข้อมูลได้ที่ (ผู้รับผิดชอบโครงการ)
ชื่อ-สกุล | นายสุเมธ รักษนาเวศ | |||
ตำแหน่ง | หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 3 | สังกัด | สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 | |
กรม | กรมชลประทาน | - | ||
โทรศัพท์ | 074-39019 | โทรสาร | 074-390198 |
14. แผนที่โครงการ :
พิกัด | 47 NPH 648-788 | พิกัด UTM (E) | 648900 | |
ระวาง | 5023 II | พิกัด UTM (N) | 788300 | |
ชื่อลุ่มน้ำ | ทะเลสาบสงขลา | รหัสลุ่มน้ำ | 20 | |