แก้มลิงพร้อมอาคารประกอบ โครงการแก้มลิงบ้านไร่ใหญ่ จังหวัดตรัง

แผนงาน/โครงการของรัฐ

1. ชื่อโครงการ     

ชื่อภาษาไทยแก้มลิงพร้อมอาคารประกอบ โครงการแก้มลิงบ้านไร่ใหญ่  จังหวัดตรัง
ชื่อภาษาอังกฤษ  

2. เหตุผลความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1  เหตุผลความจำเป็น

     ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลควนเมา มีหนังสือที่ ตง 71201/1357 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2563 เรื่องขอความอนุเคราะห์โครงการแก้ไขปัญหากรณีเกิดภัยแล้งและน้ำท่วม ผ่านมายังนายทวี สุระบาล กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ถึงผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 เรื่องขอสนับสนุนงบประมาณขุดสระเก็บน้ำเป็นแก้มลิงในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านไร่ใหญ่ และหมู่ที่ 8 บ้านอ้ายเต็ง ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง เนื่องจากราษฎรในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งเป็นประจำทุกปีเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ราบลุ่ม ในช่วงฤดูน้ำหลากจะมีน้ำไหลมาจาก อำเภอบางขัน และอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมและช่วงฤดูแล้งฝนทิ้งช่วง ทำให้มีปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำท่วมและภัยแล้งให้กับราษฎรในพื้นที่ จึงขอความอนุเคราะห์        กรมชลประทาน สำรวจ ออกแบบและประมาณการ 

สำนักบริหารโครงการ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการตรวจสอบสภาพภูมิประเทศและสอบถามข้อมูลจากราษฎรในเขตโครงการแล้ว เห็นว่ามีแนวทางที่จะช่วยเหลือได้โดย ก่อสร้างโครงการแก้มลิงบ้านไร่ใหญ่ พร้อมอาคารประกอบ เนื้อที่ประมาณ 400 ไร่ บริเวณ หมูที่ 3 บ้านไร่ใหญ่  ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง และได้พิจารณาศึกษาโครงการและจัดทำรายงาน การศึกษาวางโครงการพิเศษ โครงการแก้มลิงบ้านไร่ใหญ่ ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง แล้วเสร็จเมื่อเดือน เมษายน 2565

วัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการแก้มลิงบ้านไร่ใหญ่ พร้อมอาคารประกอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอุทกภัยและจัดหาน้ำต้นทุนสนับสนุนกิจกรรมการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค ให้กับราษฎรในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านไร่ใหญ่ หมู่ที่ 8 บ้านอ้ายเต็ง ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง มีพื้นที่การเกษตรจำนวน 500 ไร่ (ปาล์มน้ำมัน) มีราษฎร จำนวน 353 ครัวเรือน ประชากร 975 คน ให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี

3. สาระสำคัญของโครงการ 

                                  - ขุดลอกแก้มลิงพื้นที่ประมาณ 400 ไร่ ความลึกเฉลี่ย 4 เมตร พร้อมเสริมคันดินถมบดอัดแน่น สูงจากระดับเก็บกัก 2.00 เมตร ความจุ 2.50 ล้าน ลบ.ม.

                      - ก่อสร้างอาคารรับน้ำ ขนาด 2-£ 2.50x2.50 เมตร จำนวน 6 แห่ง

          - ก่อสร้างอาคารระบายน้ำ ขนาด 3-£ 2.50x2.50 เมตร จำนวน 1 แห่ง

- ก่อสร้างสถานีสูบน้ำพร้อมอาคารควบคุม จำนวน 1 แห่ง

- ก่อสร้างท่อส่งน้ำสายที่ 1 ชนิดท่อ PVC ขนาด Ø 0.40 เมตร ความยาวประมาณ 2,300.00 เมตร

- ก่อสร้างท่อส่งน้ำสายที่ 2 ชนิดท่อ PVC ขนาด Ø 0.40 เมตร ความยาวประมาณ 1,600.00 เมตร

4. ผู้ดำเนินการ     

สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16  กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง

5. สถานที่ที่จะดำเนินการ 

                  ž   เฉพาะจังหวัด                                          ¡   ทั่วประเทศ

 

 

 

พื้นที่ดำเนินการ

จังหวัดอำเภอตำบล
ตรังรัษฎาควนเมา

6. ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ 

            - แก้มลิงพร้อมอาคารประกอบ โครงการแก้มลิงบ้านไร่ใหญ่  จังหวัดตรัง ใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 4 ปี              (พ.ศ. 2567-2570)

7. ผลผลิตของโครงการ  (OUTPUT)

-                     แก้มลิงบ้านไร่ใหญ่เนื้อที่ประมาณ 400 ไร่ ความลึกเฉลี่ย 4 เมตร พร้อมเสริมคันดินถมบดอัดแน่น สูงจาก   ระดับเก็บกัก 2.00 เมตร ความจุ 2.50 ล้าน ลบ.ม.

- ก่อสร้างอาคารรับน้ำ ขนาด 2-£ 2.50x2.50 เมตร จำนวน 6 แห่ง

          - ก่อสร้างอาคารระบายน้ำ ขนาด 3-£ 2.50x2.50 เมตร จำนวน 1 แห่ง

- ก่อสร้างสถานีสูบน้ำพร้อมอาคารควบคุม จำนวน 1 แห่ง

- ก่อสร้างท่อส่งน้ำสายที่ 1 ชนิดท่อ PVC ขนาด Ø 0.40 เมตร ความยาวประมาณ 2,300.00 เมตร

- ก่อสร้างท่อส่งน้ำสายที่ 2 ชนิดท่อ PVC ขนาด Ø 0.40 เมตร ความยาวประมาณ 1,600.00 เมตร

8. ผลลัพธ์ของโครงการ(OUTCOME) 

            - พื้นที่รับประโยชน์ทั้งโครงการ จำนวน 2,200 ไร่          

           - สามารถลดพื้นที่น้ำท่วมให้แก่ตำบลควนเมาและตำบลข้างเคียง  อำเภอรัษฎาจังหวัดตรัง

                      - มีน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตรและการอุปโภค – บริโภคให้แก่ราษฎร  ตำบลควนเมาและตำบลข้างเคียง  อำเภอรัษฎาจังหวัดตรัง

9. ผลกระทบและมาตรการป้องกัน(IMPACT) 

            ด้านบวก

            - ลดปัญหาพื้นที่น้ำท่วมให้แก่ตำบลควนเมาและตำบลข้างเคียง  อำเภอรัษฎาจังหวัดตรัง 

- มีน้ำเพื่อทำการเกษตรและการอุปโภค – บริโภคอย่างพอเพียง ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น และทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

            ด้านลบ

- บริเวณพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างอยู่บริเวณพื้นที่ถือครองของราษฎร  จะต้องมีการจ่ายค่าทดแทนที่ดินและผลอาสินของราษฎรในพื้นที่

10. การประเมินผลทางด้านเศรษฐศาสตร์

ระดับอัตราคิดลด                                             เท่ากับ  8.00 %

          มูลค่าผลตอบแทนสุทธิปัจจุบัน (NPV)                    เท่ากับ  27.00 ล้านบาท 

อัตราส่วนของผลตอบแทนต่อการลงทุน (B/C Ratio)   เท่ากับ 1.15

อัตราผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ (EIRR)              เท่ากับ  9.04 %

 

 

11. การขออนุญาตใช้พื้นที่

พื้นที่ที่ใช้ในการก่อสร้างอยู่บริเวณพื้นที่ถือครองของราษฎร  จะต้องมีการจ่ายค่าทดแทนที่ดินและผลอาสินของราษฎรในพื้นที่

 

12. งบประมาณการค่าใช้จ่าย 

         ผลผลิต     โครงการจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน                                                 

         กิจกรรม     บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ                                                                กิจกรรมย่อย   โครงการขนาดกลาง

- จำนวนเงิน390,000,000.-บาท  
  ผูกพัน ปี
  •  
ต่อเนื่อง4ปี ปีเดียว 
- ที่มาของเงิน
  •  
งบประมาณปกติ     งบประมาณจังหวัด  
 
  •  
งบประมาณเงินกู้ อื่น ๆ ระบุ   
ปีดำเนินการจ้างเหมา (บาท)ค่าควบคุมงาน (บาท)ดำเนินการเอง (บาท)รวมหมายเหตุ 
ปีที่ 1 (2567)--50,000,000.-50,000,000.-  
ปีที่ 2 (2568)--70,000,000.-70,000,000.-  
ปีที่ 3 (2569)--130,000,000.-130,000,000.-  
ปีที่ 4 (2570)--140,000,000.-140,000,000.-  
รวม

-

 

-

 

390,000,000.-

 

390,000,000.-

 

  
                       

13. สอบถามข้อมูลได้ที่ (ผู้รับผิดชอบโครงการ)

ชื่อ-สกุลนายสุเมธ  รักษนาเวศ
ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 3  สังกัดสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16
กรมกรมประทาน E-mail-
โทรศัพท์074-39019 โทรสาร074-390198

 

14. แผนที่โครงการ

พิกัด47 NNJ 639-760 พิกัด UTM (E)563923
ระวาง4924 IV พิกัด UTM (N)876007
ชื่อลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก รหัสลุ่มน้ำ22