คลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบ โครงการคลองระบายน้ำคลองคึกฤทธิ์ จังหวัดสงขลา

แผนงาน/โครงการของรัฐ

1. ชื่อโครงการ      

ชื่อภาษาไทยคลองระบายน้ำคลองคึกฤทธิ์ ตำบลระวะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ชื่อภาษาอังกฤษ  

2. เหตุผลความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1  เหตุผลความจำเป็น

เนื่องด้วย พื้นที่ตำบลระวะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ประสบปัญหาอุทกภัยมาโดยตลอด มีพื้นที่ลุ่มต่ำถูกน้ำท่วมขังเป็นประจำ เกิดความเสียหายต่อพื้นที่เกษตรกรรม และในเหตุการณ์อุทกภัยขนาดใหญ่ เช่น            เหตุการณ์อุทกภัยช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2548 ถึงเดือนมกราคม 2549 เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ทำให้พื้นที่ตำบลระวะมีพื้นที่น้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง ราษฎรจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เมื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ สามารถช่วยบรรเทาอุกภัยในฤดูน้ำหลาก เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ บริเวณหมู่ที่ ๑  บ้านหัวโหนด หมู่ที่ ๒ บ้านชายเคืองหมู่ที่ ๓ บ้านวัดพร้าว หมู่ที่ ๔ บ้านหัวระวะ หมู่ที่ ๕ บ้านหัวยาง  หมู่ที่ ๖ บ้านสำโรงแฉ้ หมู่ที่ ๗ บ้านพังตรี ตำบลระวะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จำนวน 540 ครัวเรือน มีพื้นที่รับประโยชน์ ประมาณ 4,375 ไร่ จากภาวะน้ำท่วมขังในระดับสูงและเป็นเวลานาน หลายสัปดาห์ นอกจากนี้ในพื้นที่ยังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่อการเกษตรเป็นประจำอีกด้วย สาเหตุหลัก คือ ไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำในพื้นที่ น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ และระบบกระจายน้ำที่ไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ในพื้นที่ตำบลระวะ ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด จำเป็นต้องศึกษาการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบตลอดทั้งพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดแนวทางในการลดความเสียหายในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้มาตรการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องและสนับสนุนกัน จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาความเหมาะสมการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่อการเกษตร รวมทั้งการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด - กระแสสินธุ์ ซึ่งรับผิดชอบการส่งน้ำชลประทานและการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากโครงการได้มีการใช้งานมาเป็นเวลานาน

คลองคึกฤทธิ์ ทำหน้าที่เป็นคลองระบายน้ำในฤดูน้ำหลาก กักเก็บน้ำจืดในฤดูแล้งและผันน้ำเค็มเข้า
สู่นากุ้ง ให้แก่เกษตรกรพื้นที่ ตำบลระวะ และตำบลข้างเคียง ของอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

2.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.2.1 เพื่อช่วยป้องกันและบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัย

2.2.2 เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับการอุปโภค- บริโภค  และทำการเกษตรของราษฎร

2.2.3  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำ

2.2.4  เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำให้ราษฎรได้บริโภค

2.2.5  ช่วยให้ราษฎรมีความเป็นอยู่  และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

3. สาระสำคัญของโครงการ 

 - ขุดลอกคลองคึกฤทธิ์ ความยาวประมาณ 7.50 กม.

- ก่อสร้างคันป้องกันน้ำท่วมพร้อมถนน ความยาวประมาณ 7.50 กม.

- อาคารระบายน้ำ จำนวน 6 แห่ง

- อาคารอัดน้ำ จำนวน 2 แห่ง

- ก่อสร้างท่อลอดถนน จำนวน 15 แห่ง

- ก่อสร้างท่อลอดคันคลอง จำนวน 22 แห่ง

4. ผู้ดำเนินการ(หน่วยงานดำเนินการ)

สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16  กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง 

5. สถานที่ที่จะดำเนินการ 

             ●   เฉพาะจังหวัด                             ทั่วประเทศ

พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัดอำเภอตำบล
สงขลาระโนดระวะ

6. ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ 

                 คลองระบายน้ำคลองคึกฤทธิ์ ตำบลระวะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปี (พ.ศ.2568 - 2569)

7.ผลผลิตของโครงการ   (OUTPUT)

 - ขุดลอกคลองคึกฤทธิ์ ความยาวประมาณ 7.50 กม.

 - ก่อสร้างคันป้องกันน้ำท่วมพร้อมถนน ความยาวประมาณ 7.50 กม.

 - อาคารระบายน้ำ จำนวน 6 แห่ง

 - อาคารอัดน้ำ จำนวน 2 แห่ง

- ก่อสร้างท่อลอดถนน จำนวน 15 แห่ง

- ก่อสร้างท่อลอดคันคลอง จำนวน 22 แห่ง

8.ผลลัพธ์ของโครงการ   (OUTCOME)

- พื้นที่รับประโยชน์ ประมาณ 4,375 ไร่ ได้แก่ พื้นที่ตำบลระวะ และตำบลข้างเคียง ของอำเภอระโนดจังหวัดสงขลา 

- บรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตำบลระวะ และตำบลข้างเคียงของอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

- มูลค่าความเสียหายจากอุทกภัยลดลง ทั้งในพื้นที่เกษตรกรรม บ้านเรือน ทรัพย์สิน

- ยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎร ลดความเดือดร้อน ความวิตกกังวล และความไม่สะดวกด้านต่างๆ ในช่วงน้ำท่วม 

- สร้างความมั่นใจให้กับราษฎร ในการประกอบอาชีพ เช่น การวางแผนการเพาะปลูก 
การลงทุนเพื่อ การเกษตรกรรม และการพัฒนาธุรกิจด้านต่างๆ

 

9.ผลกระทบและมาตรการป้องกัน  (IMPACT)

-  ด้านบวก

 -  ลดผลกระทบเนื่องจากอุทกภัย ในพื้นที่ตำบลระวะ และตำบลข้างเคียง

-  ผันน้ำจากคลองพังยาง ที่เชื่อมต่อกับทะเลอ่าวไทยให้ไหลเข้าพื้นที่นากุ้งช่วยลดต้นทุนในการ
สูบน้ำจากทะเลอ่าวไทยโดยตรงซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง และการใช้น้ำเค็มจากคลองคึกฤทธิ์ จะส่งผลให้เรื่องผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น จะทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น ทำให้สภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ชุมชนเกิดความสงบสุข

        -ด้านลบ

- ในการก่อสร้างจำเป็นต้องใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างอาคารหัวงานและขุดลอกคลอง ทำให้มีต้นไม้และผลอาสินของราษฎรบางส่วน ได้รับความเสียหาย  ซึ่งราษฎรยินยอมให้ก่อสร้าง

 

10.งบประมาณการค่าใช้จ่าย

กิจกรรมย่อย  :  ก่อสร้างแหล่งน้ำ

- จำนวนเงิน180,000,000.-บาท 
     
  ผูกพัน ปีต่อเนื่อง2ปี ปีเดียว
      
- ที่มาของเงินงบประมาณปกติ      งบประมาณจังหวัด 
       
  งบประมาณเงินกู้ อื่น ๆ ระบุ  
         
         
ปีดำเนินการจ้างเหมา (บาท)ค่าควบคุมงาน (บาท)ดำเนินการเอง (บาท)หมายเหตุ 

ปีที่ 1 (2568)

ปีที่ 2 (2569)

รวม

  

60,000,000.-

120,000,000.-

180,000,000.-

  
                        

 

11. สอบถามข้อมูลได้ที่ (ผู้รับผิดชอบโครงการ)

ชื่อ-สกุลนายชนินทร์  น้อยดำ
ตำแหน่งกส.1/16 พก. สังกัดสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16
กรมชลประทาน E-mail 
โทรศัพท์074-390198 โทรสาร074-390198

 

 

 

 

12. แผนที่โครงการ

พิกัด47NPL7018 พิกัด UTM (E)7.745926
ระวาง5024II พิกัด UTM (N)100.370592
ชื่อลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา รหัสลุ่มน้ำ23
ประเภทโครงการคลองระบายน้ำ ขนาดโครงการกลาง