แผนงาน/โครงการของรัฐ
1. ชื่อโครงการ
ชื่อภาษาไทย | โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองไผ่ ระยะ 2 ตำบลแดนสงวน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา | |
ชื่อภาษาอังกฤษ |
2. เหตุผลความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 เหตุผลความจำเป็น
เนื่องด้วย พื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสทิงพระ และอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ประสบปัญหาอุทกภัยมาโดยตลอด มีพื้นที่
ลุ่มต่ำถูกน้ำท่วมขังเป็นประจำ เกิดความเสียหายต่อพื้นที่เกษตรกรรม และในเหตุการณ์อุทกภัยขนาดใหญ่ เช่น เหตุการณ์อุทกภัยช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2548 ถึงเดือนมกราคม 2549 เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ทำให้คาบสมุทรสทิงพระมีพื้นที่น้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง ราษฎรจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จากภาวะน้ำท่วมขังในระดับสูงและเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ นอกจากนี้ พื้นที่คาบสมุทรสทิงพระยังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรเป็นประจำอีกด้วย สาเหตุหลัก คือ ไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำในพื้นที่ น้ำต้นทุนไม่เพียงพอเนื่องจากไม่สามารถใช้น้ำจากทะเลสาบสงขลา เมื่อมีการรุกตัวของน้ำเค็มถึงทะเลสาบตอนบน และระบบกระจายน้ำที่ไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด จำเป็นต้องศึกษาการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบตลอดทั้งพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดแนวทางในการลดความเสียหายในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้มาตรการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องและสนับสนุนกัน จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาความเหมาะสมการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร รวมทั้งการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด - กระแสสินธุ์ ซึ่งรับผิดชอบการส่งน้ำชลประทานและการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากโครงการได้มีการใช้งานมาเป็นเวลานาน
ปัจจุบัน สำนักบริหารโครงการ ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม(Feasibility Report) โครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา เสร็จเรียบร้อยแล้ว
2.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ
2.2.1 เพื่อช่วยป้องกันและบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัย
2.2.2 เป็นแหล่งเก็บกักน้ำต้นทุนจากทะเลสาบสงขลาเพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในพื้นที่อำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ และอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
2.2.3 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำ
2.2.4 ช่วยให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
.3. สาระสำคัญของโครงการ
- ขุดคลองระบายน้ำกว้าง 34.00 เมตร ลึก 4.00 เมตร ยาว 5.93 กิโลเมตร ถนนคันคลอง 2 ฝั่ง พร้อมลาดยางผิวจราจร และดินลูกรังถมบดอัดแน่น
- ก่อสร้างสะพานรถยนต์ กว้าง 9.00 ม.ยาว 36 ม. จำนวน 4 แห่ง
- ก่อสร้างอาคารรับน้ำ ขนาด 1.00x 1.00 ม. จำนวน 15 แห่ง
- ท่อระบายน้ำขนาด 2.00x 2.00 ม จำนวน 2 ช่อง 1 แห่ง
- ประตูระบายน้ำขนาด 6.00 x 5.00 ม.จำนวน 2 ช่อง ที่ กม.0+2801 แห่ง
- ความสามารถการระบายน้ำ 22.582 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
4. ผู้ดำเนินการ(หน่วยงานดำเนินการ)
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง
5. สถานที่ที่จะดำเนินการ
● เฉพาะจังหวัด ทั่วประเทศ
พื้นที่ดำเนินงาน | ||
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล |
สงขลา | ระโนด | แดนสงวน |
6. ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ
- โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองไผ่ ตำบลแดนสงวน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี (พ.ศ.2567-2569)
7.ผลผลิตของโครงการ (OUTPUT)
- ขุดคลองระบายน้ำกว้าง 34.00 เมตร ลึก 4.00 เมตร ยาว 5.93 กิโลเมตร ถนนคันคลอง 2 ฝั่ง พร้อมลาดยางผิวจราจร และดินลูกรังถมบดอัดแน่น
- ก่อสร้างสะพานรถยนต์ กว้าง 9.00 ม.ยาว 36 ม. จำนวน 4 แห่ง
- ก่อสร้างอาคารรับน้ำ ขนาด 1.00x 1.00 ม. จำนวน 15 แห่ง
- ท่อระบายน้ำขนาด 2.00x 2.00 ม จำนวน 2 ช่อง 1 แห่ง
- ประตูระบายน้ำขนาด 6.00 x 5.00 ม.จำนวน 2 ช่อง ที่ กม.0+2801 แห่ง
- ความสามารถการระบายน้ำ 22.582 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
8.ผลลัพธ์ของโครงการ (OUTCOME)
-พื้นที่รับประโยชน์ ประมาณ 1,090 ไร่ ได้แก่ พื้นที่ ตำบลแดนสงวน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
- ยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎร ลดความเดือดร้อน ความวิตกกังวล และความไม่สะดวกด้านต่างๆ ในช่วงน้ำท่วม
9.ผลกระทบและมาตรการป้องกัน (IMPACT)
- ด้านบวก
- การบรรเทาอุทกภัยลดความสูญเสียของพืชผลทางการเกษตร และทรัพย์สินของครัวเรือน
- เมื่อมีน้ำเพื่อทำการเกษตรอย่างพอเพียง จะส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น และทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
-ด้านลบ
-ในการก่อสร้างจำเป็นต้องใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างอาคารและขุดขยายคลอง เนื้อที่ประมาณ 200 แปลง ทำให้มีต้นไม้และผลอาสินของราษฎรบางส่วน ได้รับความเสียหายซึ่งราษฎรยินยอมให้ก่อสร้าง
10.งบประมาณการค่าใช้จ่าย
กิจกรรมย่อย :ก่อสร้างแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำ
- จำนวนเงิน | 203,500,000.- | บาท | |||||||||||||||||||||||
● | ผูกพัน | 3 | ปี | ต่อเนื่อง | ปี | ปีเดียว | |||||||||||||||||||
- ที่มาของเงิน | ● | งบประมาณปกติ | งบประมาณจังหวัด | ||||||||||||||||||||||
งบประมาณเงินกู้ | อื่น ๆ ระบุ | ||||||||||||||||||||||||
ปีดำเนินการ | จ้างเหมา (บาท) | ค่าควบคุมงาน (บาท) | ดำเนินการเอง (บาท) | หมายเหตุ | |||||||||||||||||||||
ปีที่ 1 (2567) | 30,000,000 | 525,000 | |||||||||||||||||||||||
ปีที่ 2 (2568) | 50,000,000 | 875,000 | |||||||||||||||||||||||
ปีที่ 2 (2569) | 120,000,000 | 2,100,000 | |||||||||||||||||||||||
รวม | 200,000,000 | 3,500,000 | |||||||||||||||||||||||