แผนงาน/โครงการของรัฐ
1. ชื่อโครงการ
ชื่อภาษาไทย | ประตูระบายน้ำคลองภูมีพร้อมอาคารประกอบ ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา |
ชื่อภาษาอังกฤษ |
2. เหตุผลความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 เหตุผลความจำเป็น
ได้รับการประสานจากผู้นำชุมชนในพื้นที่ว่ามีการร้องทุกข์จากราษฎรว่า การเปิดประตูระบายน้ำจากประตูระบายน้ำคลองรัตภูมิ ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ในช่วงฤดูน้ำหลากแต่ละครั้งทำให้ที่ดินของราษฎรทั้งสองฝั่งพังทลาย ทำให้ราษฎรได้รับความเดือนร้อนในเรื่องพื้นที่เกษตรกรรมเสียหายเป็นบริเวณกว้าง และเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ โดยพิจารณาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างประตูระบายน้ำเพื่อกักเก็บน้ำด้านท้ายน้ำของคลองภูมีก่อนไหลลงทะเลสาบสงขลา เพื่อให้ราษฎรสามารถมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 รวมกับฝ่ายพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมสำนักงานชลประทานที่ 16 และนายอดุลย์ สงดวง, นายพลทองเอื้อ ตัวแทนราษฎรในพื้นที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตรวจสอบสภาพภูมิประเทศและสอบถามข้อมูลเบื้องต้นจากราษฎรในเขตโครงการแล้ว เห็นว่ามีแนวทางที่จะให้ความช่วยเหลือได้โดยการก่อสร้างโครงการประตูระบายน้ำคลองภูมี ปากบาง ซึ่งรายละเอียดและผลการพิจารณาโครงการเบื้องต้นสรุปได้ดังนี้
2.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร
2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในฤดูน้ำหลาก
3.เพื่อป้องกันการกัดเซาะตลิ่งบริเวณบ้านเรือนของราษฎร
3. สาระสำคัญของโครงการ
ก่อสร้างอาคารระบายน้ำ (ปตร.) ขนาด 6.00x6.00 เมตร จำนวน 4 ช่อง 1 แห่ง และก่อสร้างอาคารการป้องกันตลิ่ง ด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำ ด้านละ 200.00 เมตร รวมยาว 400.00 เมตร โครงการฯ บ้านในไร่ หมู่ที่ 6 ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา พิกัดในแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ลำดับชุด(Series) L7018 ระวาง (Sheets) 5023 II หัวงาน พิกัด 47 NPH 544-929 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่การเกษตรประมาณ 500 ไร่ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในฤดูน้ำหลากเพื่อป้องกันการกัดเซาะตลิ่งบริเวณบ้านเรือนของราษฎร
4. ผู้ดำเนินการ
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง
5. สถานที่ที่จะดำเนินการ
ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
6. ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ
โครงการประตูระบายน้ำคลองภูมี ปากบาง ใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 3 ปี (พ.ศ. 2565-2567) ประกอบด้วย
- อาคารระบายน้ำ (ปตร.) ขนาด 6.00 x 6.00 เมตร จำนวน 4 ช่อง 1 แห่ง พิกัด 47NPH 544 929
- อาคารป้องกันตลิ่ง ด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำ ความยาวรวม 11,700.00 เมตร
7. ผลผลิตของโครงการ (OUTPUT)
ก่อสร้างอาคารระบายน้ำ (ปตร.) ขนาด 6.00x6.00 เมตร จำนวน 4 ช่อง 1 แห่ง และก่อสร้างอาคารการป้องกันตลิ่ง ด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำ ด้านละ 200.00 เมตร รวมยาว 400.00 เมตร โครงการฯ บ้านในไร่ หมู่ที่ 6 ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา พิกัดในแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ลำดับชุด(Series) L7018 ระวาง (Sheets) 5023 II หัวงาน พิกัด 47 NPH 544-929
8. ผลลัพธ์ของโครงการ (OUTCOME)
ด้านบวก
- เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรได้ตลอดทั้งปี พื้นที่การเกษตรประมาณ 500 ไร่
- เพื่อป้องกันการกัดเซาะตลิ่งบริเวณบ้านเรือนของราษฎร
- เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่
ด้านลบ
- บริเวณพื้นที่ก่อสร้างโครงการประตูระบายน้ำคลองภูมี ปากบาง เป็นสวนยางพารา และบ้านอยู่อาศัยของราษฎร ที่ถูกผลกระทบจากโครงการ
9. ผลกระทบและมาตรการป้องกัน(IMPACT)
ด้านบวก
- เมื่อมีน้ำเพื่อทำการเกษตรอย่างพอเพียง จะส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น และทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
- เมื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภค และบรรเทาปัญหาอุทกภัย ทำให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ด้านลบ
- บริเวณพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างติดพื้นที่สวนยางพารา และมีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของราษฎร
10. การประเมินผลทางด้านเศรษฐศาสตร์
-
11. การขออนุญาตใช้พื้นที่
-
12. งบประมาณการค่าใช้จ่าย
ผลผลิต การจัดหาแหล่งน้ำ การป้องกันและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน
กิจกรรม การจัดการงานก่อสร้างโครงการเพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทาน
กิจกรรมย่อย โครงการขนาดกลาง
จำนวนเงิน 529,068,200. บาท
- ที่มาของเงิน ผูกพัน 3 ปี
งบประมาณปกติ
13. สอบถามข้อมูลได้ที่ (ผู้รับผิดชอบโครงการ)
ชื่อ-สกุล | นายสุเมธ รักษนาเวศ | |||
ตำแหน่ง | หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 3 | สังกัด | สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 | |
กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง | ||||
กรม | กรมชลประทาน | Siripon42@hotmail.com | ||
โทรศัพท์ | 081-9633365 | โทรสาร | 074-300755 |
14. แผนที่โครงการ :
พิกัด | พิกัด 47 NPH 544-929 | พิกัด UTM (E) | 654400 | |
ระวาง | 5023 II | พิกัด UTM (N) | 792900 | |
ชื่อลุ่มน้ำ | ทะเลสาบสงขลา | รหัสลุ่มน้ำ | 2301 | |
ประเภทโครงการ | อาคารระบายน้ำ | ขนาดโครงการ | กลาง |