แผนงาน/โครงการของรัฐ
1. ชื่อโครงการ
ชื่อภาษาไทย | โครงการระบบระบายน้ำคลองมาบกำ จังหวัดสงขลา |
ชื่อภาษาอังกฤษ |
2. เหตุผลความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 เหตุผลความจำเป็น
ด้วยราษฎรในพื้นที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำเค็มรุก และขาดแหล่งเก็บกักน้ำเนื่องจากลำคลองในพื้นที่ตื้นเขินมีวัชพืชปกคลุม ทำให้เกษตรกรไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้เท่าที่ควร ผู้นำในท้องถิ่นและราษฎรในพื้นที่จึงร่วมกันเสนอขอโครงการเพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้แก้ปัญหาเร่งด่วน โดยการขุดลอกคลองธรรมชาติ หรือแหล่งน้ำที่สามารถเพิ่มความจุในการเก็บกักน้ำ โดยให้ส่วนราชการ ท้องถิ่น และราษฎรในพื้นที่ชี้เป้าหมายพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการดำเนินการขุดลอก ขยายเพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเหมาะสม สำรวจ ออกแบบ และดำเนินการก่อสร้าง ต่อไป
ทั้งนี้ นายวรรณรพ ส่องสว่าง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว ได้มีหนังสือที่
สข 77003/515 ลงวันที่ 3 กันยายน 2564 เรื่องขอความอนุเคราะห์ขุดลอกคลองมาบกำ ถึง ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 ความว่า เนื่องด้วยราษฎรหมู่ที่ 1,2,3,4 และหมู่ที่ 6 ตำบลบ้านขาว ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการทำกาเกษตรเนื่องจากคลองมาบกำซึ่งเป็นแหล่งน้ำในพื้นที่มีสภาพตื้นเขินไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ฤดูแล้งได้ และในฤดูฝนลำคลองไม่สามารถระบายน้ำได้ทันกับน้ำฝนที่ตกลงมามากได้ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เกษตร สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว จึงขอความอนุเคราะห์กรมชลประทานขุดลอกคลองมาบกำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้งและระบายน้ำในหน้าฝนแก้ปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ นั้น
กรมชลประทาน โดยส่วนวางโครงการที่ 4 สำนักบริหารโครงการ และสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง ได้ดำเนินตรวจสอบสภาพภูมิประเทศ
และรับฟังปัญหาจากหน่วยงานและราษฎรในพื้นที่เบื้องต้นแล้ว เห็นว่ามีแนวทางที่จะให้ความช่วยเหลือได้
โดยการก่อสร้างโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและเก็บกักน้ำคลองมาบกำ จังหวัดสงขลา
เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อทำการเกษตรและบรรเทาอุทกภัยในฤดูน้ำหลาก ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านขาว หมู่ที่ 4 บ้านคูวาออก ตำบลบ้านขาว และ หมู่ที่ 5 บ้านดอนแบกปากเหมือง ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่มีน้ำใช้สำหรับทำการเกษตร (ทำนาปรัง) ได้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดปีการเพาะปลูก และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำหลากในลุ่มน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจึงได้ดำเนินการศึกษารายงานวางโครงการพิเศษ (Special Study Report) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและเก็บกักน้ำคลองมาบกำจังหวัดสงขลา เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหา และบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น
ให้แก่ราษฎรในพื้นที่โครงการซึ่งรายละเอียดและผลการพิจารณาโครงการเบื้องต้นสรุปได้ ดังนี้
2.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและเก็บกักน้ำคลองมาบกำ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อทำการเกษตรและบรรเทาอุทกภัยในฤดูน้ำหลาก ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านขาว หมู่ที่ 4 บ้านคูวาออก ตำบลบ้านขาว และ หมู่ที่ 5 บ้านดอนแบกปากเหมือง ตำบลตะเครียะ
อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่มีน้ำใช้สำหรับทำการเกษตร (ทำนาปรัง) พื้นที่การเกษตรประมาณ 500 ไร่ ได้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดปีการเพาะปลูก และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำหลากในลุ่มน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. สาระสำคัญของโครงการ
โครงการระบบระบายน้ำคลองมาบกำ จังหวัดสงขลา ความยาว 5.055 กิโลเมตร พร้อมอาคารประกอบ
4. ผู้ดำเนินการ (หน่วยงานดำเนินการ)
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง
5. สถานที่ที่จะดำเนินการ
● เฉพาะจังหวัด ทั่วประเทศ
พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล |
สงขลา | ระโนด | บ้านขาว, ตะเครียะ |
6. ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ
โครงการระบบระบายน้ำคลองมาบกำ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 2 ปี (พ.ศ. 2567-2568)
7. ผลผลิตของโครงการ (OUTPUT)
ลักษณะโครงการทั่วไป :
ประเภทโครงการ ขุดขยายคลองธรรมชาติ
ความยาวขุดขยายคลอง 5.055 กิโลเมตร
- กรณีที่ผ่านพื้นที่การเกษตร (กม.0+000 ถึง 0+855 , กม.4+050 ถึง 5+055)
ความกว้างเขตคลองเดิม 20 เมตร
ความกว้างเขตคลองใหม่(รวมถนน 2 ฝั่ง) 60 เมตร
ความกว้างปากคลอง 40 เมตร
ความกว้างก้นคลอง 24 เมตร
ความลึกคลอง 4.0 เมตร
ลาดตลิ่ง 1:2
ความลาดเทท้องคลอง ไม่ลาดเท
ระดับท้องคลอง -2.00 เมตร (รทก.)
- กรณีที่ผ่านชุมชน ปรับปรุงคลองเดิมเป็นแบบคลองดาดคอนกรีต (กม.0+905 ถึง 4+000)
ความกว้างเขตคลองเดิม 25 เมตร
ความกว้างเขตคลองใหม่ (รวมถนน 2 ฝั่ง) 25 เมตร
ความกว้างปากคลอง 11.4 เมตร
ความกว้างก้นคลอง 2 เมตร
ความลึกคลอง 4.7 เมตร
ลาดตลิ่ง 1:1
ความลาดเทท้องคลอง ไม่ลาดเท
ระดับท้องคลอง -2.00 เมตร (รทก.)
อาคารประกอบ:
ประตูระบายน้ำปากคลอง 1 บานตรงขนาด
(กม.0+050) 6.00x4.00 เมตร
ประตูระบายน้ำปลายคลองพร้อมสถานีสูบน้ำ 1 บานตรงขนาด
(กม.4+950) 6.00x4.00 เมตร
อัตราการสูบต่อเครื่อง 1.0 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
จำนวน 2 เครื่อง
ท่อลอดคลอง 3 แห่ง
(กม.0+855 คลองส่ง 4L-MC)
(กม.1+095คลองตะเครียะ) (กม.2+000 คลองส่ง 3L-MC)
สะพาน 4 แห่ง
(กม.1+266) (กม.2+700) (กม.3+513)
(กม.5+015)
8. ผลลัพธ์ของโครงการ (OUTCOME)
ด้านบวก
- พื้นที่รับประโยชน์ทั้งโครงการ ประมาณ 1,500 ไร่
- เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับทำการเกษตร (ทำนาปรัง)
-พื้นที่การเกษตรมีน้ำใช้อย่างเพียงพอตลอดทั้งปีการเพาะปลูก สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
ของเกษตรกร ช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่
- สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในลุ่มน้ำได้เป็นอย่างดี
9. ผลกระทบและมาตรการป้องกัน (IMPACT)
ด้านบวก
- ลดผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำใช้ในการทำนา และทำการเกษตรอื่น ๆ ในช่วงฤดูแล้ง
- ลดผลกระทบจากปัญหาอุกทกภัย ป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของราษฎรในพื้นที่
ด้านลบ
- การก่อสร้างจำเป็นต้องใช้พื้นที่เพื่อขุดลอกคลองและก่อสร้างอาคารหัวงาน ทำให้ที่ดิน ต้นไม้และผลอาสินของราษฎรบางส่วนได้รับความเสียหาย ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างเวนคืนที่ดิน
10. การประเมินผลทางด้านเศรษฐศาสตร์
- อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 9.30 %
- ณ ระดับอัตราคิดลด 9 % 10%
- มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV): ล้านบาท 14.87 -30.75
- อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อการลงทุน (B/C) 1.03:1 0.93:1
11. การขออนุญาตใช้พื้นที่
พื้นที่แนวคลองที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการ บางส่วนติดอยู่ในเขตพื้นที่ห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ซึ่งจะต้องดำเนินการขออนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชก่อนดำเนินการก่อสร้าง
และอาคารหัวงานที่จะดำเนินการก่อสร้างในลำน้ำสาธารณะเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันต้องดำเนินการ
ขออนุญาตก่อสร้างจากกรมเจ้าท่า
12. งบประมาณการค่าใช้จ่าย
กิจกรรมย่อย :ป้องกันภัยจากน้ำ
- จำนวนเงิน | 356,125,000.- | บาท | |||||||||||||||||
ผูกพัน | ปี | ● | ต่อเนื่อง | 2 | ปี | ปีเดียว | |||||||||||||
- ที่มาของเงิน | ü | งบประมาณปกติ | งบประมาณจังหวัด | ||||||||||||||||
งบประมาณเงินกู้ | อื่น ๆ ระบุ | ||||||||||||||||||
ปีดำเนินการ | จ้างเหมา | ค่าควบคุมงาน (บาท) | ดำเนินการเอง (บาท) | รวม | หมายเหตุ |
ปีที่ 1 (2567) | 70,000,000.- | 1,225,000.- | - | 71,225,000.- | |
ปีที่ 2 (2568) | 280,000,000.- | 4,900,000.- | - | 284,900,000. - | |
รวม | 350,000,000. - | 6,125,000.- | - | 356,125,000. - |
13. สอบถามข้อมูลได้ที่ (ผู้รับผิดชอบโครงการ)
ชื่อ-สกุล | นายอัคคพล นวลมังสอ | |||
ตำแหน่ง | หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 5 | สังกัด | สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 | |
กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง | ||||
กรม | กรมชลประทาน | Akkaponitt@gmail.com | ||
โทรศัพท์ | 074-390216 | โทรสาร | 074-390151 |
14. แผนที่โครงการ :
พิกัด | 47 NPJ 378-687 | พิกัด UTM (E) | 637847 |
ระวาง | 5024 IV | พิกัด UTM (N) | 868734 |
ชื่อลุ่มน้ำ | ทะเลสาบสงขลา | รหัสลุ่มน้ำ | 20 |
ประเภทโครงการ | ขุดขยายคลอง | ขนาดโครงการ | กลาง
|