แผนงาน/โครงการของรัฐ
1. ชื่อโครงการ
ชื่อภาษาไทย | โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำยะรม (ระยะที่ 2) จังหวัดยะลา |
ชื่อภาษาอังกฤษ |
2. เหตุผลความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 เหตุผลความจำเป็น
โครงการชลประทานยะลา สำนักชลประทานที่ 17 กรมชลประทาน ได้รับหนังสือจากสำนักงานจังหวัดยะลา ที่ ยล. 0017.2/34470 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2543 แจ้งว่า จังหวัดยะลาได้บรรจุโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำยะรม ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เข้าแผนเร่งรัดพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2544 เพื่อพัฒนาจังหวัดตามนโยบายการพัฒนาพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โครงการพัฒนาเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT) และการพัฒนาพื้นที่บริเวณด่านชายแดนของรัฐบาล รวมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดยะลาอีกด้วย จึงขอให้กรมชลประทานพิจารณารายละเอียดตามความเหมาะสม สำนักชลประทานที่ 17 (สำนักชลประทานที่ 12 ขณะนั้น) ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปพิจารณาความเหมาะสมร่วมกับนายอำเภอเบตง เพื่อตรวจสอบสภาพพื้นที่และตรวจสอบทางด้านวิศวกรรมเบื้องต้น เห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะก่อสร้างอ่างเก็บน้ำยะรม เพื่อช่วยเหลือเรื่องน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค เพื่อการเกษตรแก่ราษฎรในตำบลยะรม เพื่อรักษาความมั่งคงของชายแดน และเพื่อรองรับการก่อสร้างสนามบินเบตงในอนาคต
ดังนั้น กลุ่มงานวางโครงการ 3 ส่วนวางโครงการ สำนักบริหารโครงการ ได้พิจารณาตรวจสอบสภาพพื้นที่เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในเขต ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และเห็นว่ามีลู่ทางที่จะดำเนินการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวได้ จึงได้ศึกษาและพิจารณาจัดทำรายงานวางโครงการโครงการอ่างเก็บน้ำยะรม เพื่อนำรายงานดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการออกแบบและจัดเข้าแผนงานก่อสร้างของกรมชลประทานต่อไป
2.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุน ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกของราษฎรที่ใช้น้ำจากโครงการที่อยู่ทางตอนล่างของอ่างเก็บน้ำทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง
- เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับช่วยเหลือในการอุปโภคในฤดูแล้งของราษฎรและสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่ในเขตโครงการและบริเวณใกล้เคียง ที่มักประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
- เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการผลิตน้ำประปาในเขตตำบลยะรม และเพื่อรองรับการก่อสร้างสนามบินเบตงในอนาคต
- เพื่อรักษาความมั่นคงทางการเมืองและการปกครอง
- เป็นแหล่งแพร่พันธุ์ปลาน้ำจืดและเพิ่มรายได้จากการจับสัตว์น้ำของราษฎรในเขตโครงการ
- เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนหย่อนในของประชาชนในบริเวณโครงการและบริเวณใกล้เคียง
- เพื่อใช้เป็นโครงการพื้นฐานรองรับการพัฒนาเมืองเบตงซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของจังหวัดยะลา
3. สาระสำคัญของโครงการ
ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบ โครงการอ่างเก็บน้ำยะรม ความยาวประมาณ 13.05 กม.
4. ผู้ดำเนินการ
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง
5. สถานที่ที่จะดำเนินการ
● เฉพาะจังหวัด ○ ทั่วประเทศ
พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล |
ยะลา | เบตง | ยะรม |
6. ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ
ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบ ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (พ.ศ. 2567 - 2569)
7. ผลผลิตของโครงการ (OUTPUT)
ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบ โครงการอ่างเก็บน้ำยะรม ความยาวประมาณ 13.05 กม.
8. ผลลัพธ์ของโครงการ (OUTCOME)
ด้านบวก
- ด้านการเกษตร ผลประโยชน์ทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้น โดยการเปรียบเทียบในกรณีเมื่อไม่มีโครงการกับกรณีเมื่อมีโครงการผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากพื้นที่เพาะปลูก 3,500 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมด ผลประโยชน์ทางการเกษตรด้านการเงินประมาณ 483.29 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ หรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 620.67 ล้านบาท
- ด้านการอุปโภค - บริโภค ในพื้นที่โครงการครอบคลุมตำบลยะรมทั้งหมดซึ่งมีพื้นที่ที่จะก่อสร้างสนามบินเบตง ตามแผนการบริหารสนามบินในปีแรกเที่ยวบินวันละ 1 เที่ยวบิน ขนาน 80 ที่นั่ง ในปี 2574 จะมี 3 เที่ยวบิน/วันหรือ 34,283 คน/ต่อปี ศักยภาพสนามบินการอุปโภค - บริโภค รวมถึงเจ้าหน้าที่สนามบินด้วยใช้น้ำประมาณ 80 ลิตร/คน/วัน สำหรับประชาชนในพื้นที่โครงการเฉลี่ยคนละ 150 ลิตร/คน/วัน ในพื้นที่ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งประมาณ 5 เดือน (ก.พ. - มิ.ย.) ได้แก่ หมู่ที่ 2, 3, 5 และ 8 มีโครงการช่วยให้ประชากรมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี
- ด้านการประมง อ่างเก็บน้ำเป็นแหล่งโปรตีนราคาถูกในท้องถิ่นซึ่งการคิดผลประโยชน์คิดจากพื้นที่ผิวอ่างที่ระดับเก็บกักปกติโดยมีพื้นที่ 294 ไร่ มีปริมาณปลาเฉลี่ย 12 กิโลเมตรต่อไร่ คิดเป็นมูลค่าทางการเงิน 0.13 ล้านบาทต่อปี หรือเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 0.12 ล้านบาทต่อปี
ด้านลบ
- อ่างเก็บน้ำยะรมมีพื้นที่น้ำท่วมที่ระดับเก็บกักสูงสุดประมาณ 294 ไร่ พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เพาะปลูก และมีบ้านอยู่อาศัยของเกษตรกร จากข้อมูลที่มีอยู่เป็นพื้นที่ปลูกยางร้อยละ 80 ของพื้นที่อ่างเก็บน้ำทั้งหมดหรือประมาณ 235.20 ไร่ จากการสังเกตการณ์ยางมีอายุประมาณ 16 ปี พื้นที่ที่เหลืออีก 58.80 ไร่ ปลูกลองกอง และอื่นๆ เป็นต้น ผลประโยชน์ที่ได้เป็นมูลค่าทางการเงิน 136.50 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ หรือเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 124.88 ล้านบาท
9. ผลกระทบและมาตรการป้องกัน (IMPACT)
ด้านบวก
- เมื่อมีน้ำเพื่อทำการเกษตรอย่างพอเพียง จะส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น และทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
ด้านลบ
- บริเวณพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างติดพื้นที่เพาะปลูกยางร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีบ้านอยู่อาศัยของเกษตรกร
10. การประเมินผลทางด้านเศรษฐศาสตร์
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ ; NPV = 19
อัตราผลตอบแทนต่อค่าลงทุน ; B/C = 1.11
อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ ; IRR = 10.79%
11. การขออนุญาตใช้พื้นที่
พื้นที่ป่าเตรียมการสงวน ป่าฝั่งขวาแม่น้ำปัตตานี 777 – 2 - 34 ไร่
ผลความก้าวหน้า ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ วันที่ 15 กันยายน 2558
12. งบประมาณการค่าใช้จ่าย
ผลผลิต การจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน
กิจกรรม การจัดการงานก่อสร้างโครงการเพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทาน กิจกรรมย่อย โครงการขนาดกลาง
- จำนวนเงิน | 300,000,000.- | บาท | |||||||||||||||||||||
ผูกพัน | 3 | ปี | ต่อเนื่อง | 3 | ปี | ปีเดียว | |||||||||||||||||
- ที่มาของเงิน | งบประมาณปกติ | งบประมาณจังหวัด | |||||||||||||||||||||
งบประมาณเงินกู้ | อื่น ๆ ระบุ | ||||||||||||||||||||||
ปีดำเนินการ | จ้างเหมา (บาท) | ค่าควบคุมงาน (บาท) | ดำเนินการเอง (บาท) | รวม | หมายเหตุ | ||||||||||||||||||
ปีที่ 1 (2567) | 60,000,000.-
| - | 60,000,000.-
| 60,000,000.-
| |||||||||||||||||||
ปีที่ 2 (2568) | 120,000,000.- | - | 120,000,000.- | 120,000,000.- | |||||||||||||||||||
ปีที่ 3 (2569) | 120,000,000.- | - | 120,000,000.- | 120,000,000.- | |||||||||||||||||||
รวม | 300,000,000.- | - | 300,000,000.- | 300,000,000.- | |||||||||||||||||||
13. สอบถามข้อมูลได้ที่ (ผู้รับผิดชอบโครงการ)
ชื่อ-สกุล | นายสุเมธ รักษนาเวศ | |||
ตำแหน่ง | หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 3 | สังกัด | สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 | |
กรม | กรมชลประทาน | - | ||
โทรศัพท์ | 081-5415809 | โทรสาร | 074-300755 |
14. แผนที่โครงการ :
พิกัด | 47 NQG441-415 | พิกัด UTM (E) | 743666 | |
ระวาง | 5220 IV | พิกัด UTM (N) | 641409 | |
ชื่อลุ่มน้ำ | ปัตตานี | รหัสลุ่มน้ำ | 24 | |
ประเภทโครงการ | อ่างเก็บน้ำ | ขนาดโครงการ | กลาง |